/* neww */ จังหวัดจันทบุรี Chanthaburi: 2009 /* end neww */

link1

ศูนย์ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทั่วไทย
กระบี่ กาญจนบุรี ขอนแก่น ชลบุรี เชียงใหม่ ชุมพร ไทย พระนครศรีอยุธยา พังงา พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน ยะลา ระนอง สงขลา สุพรรณบุรี นครราชสีมา กรุงเทพมหานครฯ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครนายก น่าน ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พะเยา พัทลุง เพชรบูรณ์ แพร่ ราชบุรี ลำปาง สตูล สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุราษฎร์ธานี อุทัยธานี ชัยภูมิ ตราด นครปฐม นนทบุรี บุรีรัมย์ ปทุมธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด สกลนคร หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี สุรินทร์ ภูเก็ต ระยอง เลย มุกดาหาร นครพนม ศรีสะเกษ หนองคาย อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก เชียงราย ลำพูน ตรัง นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี ลพบุรี ชัยนาท จันทบุรี เพชรบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา อ่างทอง กำแพงเพชร นครสวรรค์ นราธิวาส พิจิตร

บริการสืบค้น

Custom Search
ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ตำบลคลองนารายณ์ ห่างจากวัดทองทั่วไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 300 เมตร กรมศิลปากรได้ดำเนินการสำรวจและได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเรียบร้อยแล้วโดยสันนิษฐานว่าสถานที่แห่งนี้น่าจะเป็นที่ตั้งเมืองจันทบุรียุคแรกหรือประมาณ 1,000 ปีล่วงมาแล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงซากกำแพงศิลาแลง และส่วนที่เป็นคันดินสูงประมาณ 1-3 เมตร ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเป็นสิ่งก่อสร้างประเภทใด
ตั้งอยู่บนถนนท่าหลวง บริเวณหน้าค่ายตากสิน เป็นอาคารรูปทรงเก้าเหลี่ยม หลังคาเป็นรูปพระมาลาหรือหมวกยอดแหลม ภายในประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งในแต่ละวันจะมีประชาชนมาสักการะบูชาเป็นจำนวนมาก และในวันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระองค์ จะจัดให้มีการทำบุญตักบาตรและถวายเครื่องราชสักการะ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยา

ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านเนินวงซึ่งอยู่ในที่สูงเพื่อเป็นที่มั่นในการป้องกันการถูกรุกรานของญวณ จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมืองจันทบุรีได้ย้ายกลับมาตั้งที่บ้านลุ่มตามเดิมเนื่องจากบ้านเนินวงอยู่ไกลจากแหล่งน้ำ ในปี พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส และฝรั่งเศสได้เข้ามายึดครองเมืองจันทบุรีไว้นานถึง 11 ปี จนไทยต้องยอมยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกเมืองจันทบุรีกลับคืนมา

ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นใหม่ เมืองจันทบุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดมาจนถึงปัจจุบัน จันทบุรีมีพื้นที่ประมาณ 6,338 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอกับ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอท่าใหม่

อำเภอขลุง อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอมะขาม อำเภอสอยดาว อำเภอนายายอาม อำเภอแก่งหางแมว และกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ

เริ่มมีการตั้งเมืองครั้งแรกที่บริเวณหน้าเขาสระบาป ราวพุทธศตวรรษที่ 18 “ชาวชอง” (ชนเผ่าในตระกูลมอญ-เขมร) เป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในป่าตะวันออก บริเวณจันทบุรี ตราด ระยอง โดยเฉพาะเขตป่ารอยต่อจันทบุรี-ตราด ซึ่งเป็นแหล่งของป่า และสมุนไพรที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งรง ครั่ง ขี้ผึ้ง กระวาน ไม้กฤษณา หวาย จันท์ขาว อบเชยป่า ขมิ้นหอม น้ำมันยาง เร่ว ในสมัยก่อนชาวชองดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าขาย ปัจจุบันพื้นที่ป่าลดน้อยลง เพราะถูกหักร้าง เพื่อทำสวน ทำไร่ ถูกจับจองโดยคนไทยและคนจีน การเก็บของป่ากลายเป็นสิ่งผิดกฏหมาย นายพรานไพรต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตไปเป็นแรงงานในเมือง หรือบางส่วนยังคงทำสวนทำนากันอยู่ (ปัจจุบันชาวชองส่วนใหญ่จะอยู่ที่บ้านคลองพลู กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ)

พ.ศ. 2200 ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่มซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี และหลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ ได้นำกำลังพลประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกทางทิศตะวันออกและยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นเวลา 5 เดือน เพื่อเป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรี้พล จากนั้นจึงนำกำลังพลทั้งไทย-จีน จำนวน 5,000 คน กลับไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2310 เหตุการณ์ดังกล่าวนับเป็นความภาคภูมิใจของชาวจันทบุรี ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากการที่มีโบราณสถานและอนุสรณ์สถานหลายแห่งที่มีความเกี่ยวข้องหรือจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ในครั้งนั้น

เมืองจันทน์เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยต่อการปลูกผลไม้หลายชนิด โดยเฉพาะ ทุเรียน เงาะ มังคุด และพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ เช่น พริกไทย ยางพารา เป็นศูนย์กลางธุรกิจด้านอัญมณี และมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมายไม่ว่าจะเป็นภูเขา ป่าไม้ น้ำตก ชายทะเล และโบราณสถาน โบราณวัตถุต่างๆ
จันทบุรีเป็นเมืองเก่าแก่ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีการสำรวจแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในจันทบุรี พบเครื่องมือเครื่องใช้ยุคหินขัด (อายุประมาณ 2,000 ปี) ในเขตอำเภอมะขาม อำเภอท่าใหม่ และที่ราบเชิงเขาที่บ้านคลองบอน อำเภอโป่งน้ำร้อน